การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันได้ตะหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
(1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นโทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์และพีดีเอส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่นโดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
(2)โทรสาร (Facsimile หรือFax)
เป็นการส่งข้อมูลซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์รูปภาพหรือกราฟต่างๆจากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสารการส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
(3)วอยซ์เมล (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
(4)การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video
Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งในการใช้Video
Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียงโดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
(5)การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global
Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคนสัตว์หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบการวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่งปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือเครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
(6)กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกันการใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
(7)การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic
Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยกิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำได้แก่การโอนเงินผ่านทางตู้ATM
(8)การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic
Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การโดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากลเช่นการส่งใบสั่งสินค้าใบส่งของใบเรียกเก็บเงิน
(9)การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุปัจจุบันมีการนำRFID
ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภทเช่นห่วงโซ่อุปทานระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยาการใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกรบัตรทางด่วนบัตรรถไฟฟ้าใต้ดินระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น